ข้อมูลทั่วไป



วิสัยทัศน์บ้านขี้เหล็ก

ชุมชนมีรายได้           ชุมชนเข้มแข็ง          สร้างความสามัคคีอย่างยั่งยืน
พัฒนาทุกด้าน           สานสัมพันธ์              สร้างความเป็นอยู่ที่ดี
สร้างคน                  สร้างงาน                 สานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านขี้เหล็ก 
บ้านขี้เหล็ก  เดิมคือบ้านโนนแฝก  เนื่องจากการปกครองในขณะนั้นลำบาก  ไม่ทั่วถึง  ประกอบกับเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่  ทางคณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้เสนอขอแยกหมู่บ้าน  และได้รับการอนุมัติให้แยกหมู่บ้านเมื่อวันที่  ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ ให้ชื่อหมู่บ้านว่า  บ้านขี้เหล็ก  ตั้งตามชื่อคุ้มเดิม  มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ  นายประสิทธิ์  วิลา  คนปัจจุบันคือ  นางสมจิตร  นำภา
บ้านขี้เหล็ก มีภาษาพื้นบ้านที่ใช้ คือ ภาษกลาง ภาษาลาว แต่ภาษาที่ใช้สื่อสาร ในหมู่บ้าน คือ ภาษาเขมร  อาชีพส่วนใหญ่  คือ ทำนา ทำไร่ และรับจ้าง
ที่ตั้ง/อาณาเขตของหมู่บ้าน  
เนื้อที่ของหมู่บ้าน   ประมาณ   ๑,๙๘๐  ไร่   ที่สาธารณะ   คือ
สระน้ำหนองพงษ์  ๒ ไร่  และมีสนามกีฬาหมู่บ้าน ๑  ไร่   
                   ทิศเหนือ          จรดบ้านโนนสวรรค์       ตำบลพราน      อำเภอขุนหาญ
                   ทิศใต้             จรดบ้านพรานเหนือ       ตำบลพราน      อำเภอขุนหาญ
                   ทิศตะวันออก     จรดบ้านโนนแฝกใหม่     ตำบลพราน      อำเภอขุนหาญ
                   ทิศตะวันตก      จรดบ้านโนนสวรรค์       ตำบลพราน      อำเภอขุนหาญ
ลักษณะภูมิประเทศ
                   บ้านขี้เหล็ก  หมู่ที่  ๑๖  มีพื้นที่รวมทั้งหมด  ๑,๙๘๐  ไร่    มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทั้งที่ราบลุ่ม  เหมาะสำหรับทำการเพาะปลูก  ทำการเกษตร   ปลูกข้าว  ทำไร่ข้าวโพด  มันสำปะหลัง  ซึ่งเกษตรกรอาศัยน้ำฝนในช่วงฤดูฝนในการประกอบอาชีพทางการเกษตร  แต่ส่วนมากจะประสบปัญหาฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล  และไม่มีแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร  ลักษณะภูมิอากาศ  มี    ฤดู  คือ  ฤดูร้อน  ฤดูฝน  และฤดูหนาว  
ข้อมูลด้านประชากร
                 บ้านขี้เหล็ก  มีจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้น  ๘๖  ครัวเรือน  จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น  ๓๖๒  คน  แยกเป็น  ชาย  ๑๗๕  คน  หญิง  ๑๘๗  คน  โครงสร้างประชากร  ( แยกตามช่วงอายุ  จปฐ.ปี  ๒๕๕๗ )
ลักษณะการปกครอง
บ้านขี้เหล็ก  แบ่งการปกครองออกเป็น      คุ้ม
คุ้มที่        คุ้มตะวันออก         หัวหน้าคุ้ม  คือ     นายบุญหลาย  พร้อมสุข
คุ้มที่        คุ้มตะวันตก           หัวหน้าคุ้ม  คือ     นายรัชพล  สีสิงห์
คุ้มที่        คุ้มปู่ตา                หัวหน้าคุ้ม  คือ     นายประมวล  วันสุข
คุ้มที่       คุ้มกลางสามัคคี        หัวหน้าคุ้ม  คือ     นายสำราญ  เทพพล
โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นคณะผู้บริหาร ประกอบด้วย
นางสมจิตร       นำภา             ผู้ใหญ่บ้าน
นายประมวล     วันสุข             ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายรัชพล        สีสิงห์             ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสด           วิลา                ส.อบต.
นายบุญทัน       แก้วธรรม        ส.อบต.
นายเทพ          ตองอบ           อปพร.
นายศักดิ์ศรี       บุญนูญ          อปพร.
นายสำราญ      เทพพล           อปพร.
นายริมรัตน์       คูณชัย           อปพร.
นางจำลอง       วิลา               อสม.
น.ส.ประคอง     สุทธิรักษ์         อสม., อช.
นายวีระพล       วิลา              อสม., อช.
นางสายหยุด     อุดม              อช.
นายบัวลิด        โททอง           กรรมการหมู่บ้าน
นายครรชิต       ชูเชื้อ             กรรมการหมู่บ้าน
นายมะลิน        ชนเมือง          ผู้แทนเกษตรกร
นายอ้น           ดวงแก้ว          ที่ปรึกษาหมู่บ้าน
นายบุญหลาย    พร้อมสุข         กรรมการหมู่บ้าน
นายจุ่น           แสงทอง          กรรมการหมู่บ้าน
สภาพทางเศรษฐกิจ
                 บ้านขี้เหล็ก  ประชาชนมีรายได้รวม  ๑๐,๗๙๔,๘๔๐  บาท/คน/ปี   รายได้เฉลี่ย  ๓๒,๘๒๐  บาท/คน/ปี   รายจ่ายรวมของหมู่บ้าน  ๙,๖๔๘,๖๑๔  บาท/คน/ปี  
                 การประกอบอาชีพ    อาชีพหลัก  รับจ้าง (ประจำ/ทั่วไป)  ๕๖   ครัวเรือน   อาชีพรอง  ทำนา  ๔๕  ครัวเรือน

ทำนา
จำนวน            ๔๕     ครัวเรือน
ทำสวน/ไร่
จำนวน                   ครัวเรือน
เลี้ยงสัตว์
จำนวน            ๒๒    ครัวเรือน
ประมง
จำนวน              -     ครัวเรือน
ค้าขาย
จำนวน                   ครัวเรือน
ช่าง
จำนวน                   ครัวเรือน
อุตสาหกรรมในครัวเรือน
จำนวน              -      ครัวเรือน
ข้าราชการ
จำนวน                    ครัวเรือน
รับจ้าง/บริการ
จำนวน            ๕๖    ครัวเรือน

สภาพทางสังคม ประเพณี  และวัฒนธรรมท้องถิ่น 
                 ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร  คือ  ภาษากลาง  ภาษาลาว  และใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาสื่อสารในหมู่บ้าน  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง  ทำนา  ทำไร่    มีประเพณีต่าง ๆ  ที่สำคัญ  ได้แก่  ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก  ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีสาร์ทไทย  ประเพณีการเล่นรำแม่มด  และประเพณีในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ






























               





              































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น